81323858_2647842735447234_5119609301823913984_o

อายุไม่ถึง 18 ขับรถยนต์ไปชน ผิดกฎหมายหรือไม่ ประกันรับผิดชอบหรือไม่

Sharing is caring!

อายุไม่ถึง 18 ขับรถยนต์ไปชน ผิดกฎหมายหรือไม่ ประกันรับผิดชอบหรือไม่ ⁉️⁉️

จากกรณี เด็ก 12 ขับรถปิกอัพด้วยความเร็วสูงเพื่อจะไปรับแฟนสาว เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุเป็นทางโค้งลงเนิน รถเกิดเสียหลักพุ่งชนเนินดินข้างทางลอยไปชนกับกำแพงปูน ร่างจึงกระเด็นออกจากตัวรถบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยเด็กผู้เสียชีวิตอาศัยอยู่กับแม่และตา ชอบขับรถตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งทางบ้านมักจะไหว้วานให้ขับรถไปทำธุระบ่อยครั้ง กระทั่งมาเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตในที่สุด เกิดเหตุแบบนี้ผิดกฎหมายอย่างไร และประกันคุ้มครองหรือไม่⁉️⁉️

อย่างที่ทราบกันดีว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเวลากับทุกคนที่ขับรถยนต์ ขับรถจักรยานยนต์ ยิ่งเป็นบุคคลที่ อายุไม่ถึง 18 ขับรถยนต์ไปชน ยิ่งทำให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ขับรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ด้วยแล้ว ยังทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บตามมาอีก ❌❌❌

💬 คำถามตามมาคืออายุไม่ถึง 18 ขับรถยนต์ไปชน ผิดกฎหมายหรือไม่ ประกันรับผิดชอบหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายๆคนยังสงสัยคาใจอยู่
ก่อนอื่นทำความเข้าใจกับคำว่าผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อ่อนอายุ อ่อนประสบการณ์และขาดการควบคุมสภาพจิตใจ
จึงถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่สามารถจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนได้เอง ดังนั้น กฎหมายจึงให้ความคุ้มครองช่วยเหลือจนกว่าบุคคลนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะ

กรณีนี้ผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถือ ว่าเป็นความผิดที่ต้องได้รับโทษทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ❌
ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 829 ดังนี้

🔹🔹 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
🔹🔹

⭕️ ในส่วนของคดีแพ่งคือ ขับรถเร็ว และยิ่งเด็กขับรถโดยไม่มีใบขับขี่จนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตและบาดเจ็บ ถือว่าประมาทเลินเล่อ ทำ ืุะะ ะให้ผู้อื่นเสียหายทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย ถึงชีวิต ซึ่งในทางกฎหมายผู้กระทำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือต้องจ่ายค่าเสียหายให้ญาติผู้เสียชีวิตหรือที่บาดเจ็บ รวมทั้งผู้กระทำเป็นผู้เยาว์ พ่อและแม่ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ถือว่าไม่ระมัดระวังตามหน้าที่ควรดูแลบุตร จึงต้องร่วมชดใช้ค่าเสียหาย แต่จะมากน้อยนั้นเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 ให้พิจารณาพฤติกรรมฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหาย ไม่ได้ว่าใครเสียหายมากกว่ากัน แต่ถ้ากรณีประมาททั้งคู่ พ่อแม่หรือผู้เอาประกันต้องรับผิดเมื่อลูกของตัวเองผิดจริง และพ่อแม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายนั้นแทน

⭕️ สำหรับความผิดทางอาญา ถ้าหากคู่กรณีเสียชีวิตด้วย ต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท เพราะขับรถยนต์ไม่มีใบขับขี่และขับขี่ด้วยความประมาททำให้คนต้องเสียชีวิต

🔸สำหรับบทลงโทษ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรลงโทษก็จะทำการแค่เพียงว่ากล่าวตักเตือน และห้ามไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกในเวลา 3 ปี หรือส่งเด็กไปอยู่สถานพินิจอบรม แต่หากศาลพิจารณาแล้วสมควรลงโทษไว้ครึ่งหนึ่ง ทั้งตัวเด็กเองและพ่อแม่ต้องได้รับโทษจำคุกเช่นกัน เช่นจำคุก 2 ปีก็จะเหลือ 1 ปี พ่อแม่ถูกจำคุกด้วยไม่เกิน 3 เดือนปรับ 30,000 บาท

🔸กรณีเด็กที่อายุไม่ถึง 18 ขับรถยนต์ไปชน ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงมากๆ สำหรับต่อตัวเด็กเอง และพ่อแม่ เพราะด้วยวัยยังเป็นวัยเยาว์ สภาพจิตใจและร่างกายยังไม่พร้อมเต็มที่สำหรับเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้ พ่อ แม่จึงต้องเอาใจใส่ปลอบใจเป็นอย่างดี ยิ่งถ้าหากถึงขั้นคดีอาญา ก็จะยิ่งทำให้แย่ลงไปมากกว่านี้เพราะอาจต้องจำคุก หรือส่งไปอยู่สถานพินิจอบรม

🔸แนวทางแก้ปัญหาที่ดีคือพ่อแม่ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกเป็นอย่างดี หากยังไม่ถึงวัยอันควรก็อย่าเพิ่งรีบให้เขาขับรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์เลย และเมื่อถึงวัยแล้วก็ควรไปสอบใบอนุญาตขับขี่ให้ถูกต้องตามกฎหมายให้เรียบร้อยก่อนลงสนามจริง เพราะเมื่อเขาถึงวัยอายุ 20 ปีบริบูรณ์นั่นหมายถึงเขามีความเป็นผู้ใหญ่ในการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้แล้วในระดับหนึ่ง มีสติสัมปชัญญะในการแก้ไขปัญหา ควบคุมอารมณ์ ได้ และรู้ถึงกฎหมายจราจรเป็นอย่างดีแล้ว

▪️สำหรับกรณีตามข่าวที่กล่าวถึงนี้ ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของน้องด้วยครับ ▪️

ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com และ easyinsure.co.th

Sharing is caring!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *