90054230_2715451472019693_3679725634713550848_o

ความหมายของการอยู่ในระยะ 2 และการเข้าสู่ระยะ 3 COVID-19

Sharing is caring!

ปัญหาที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชน เกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย คือ
1️⃣ ความแตกตื่นกับคำว่าระยะ 2 และระยะ3
2️⃣ ความไม่เชื่อว่าคำแนะนำต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการใช้หรือไม่ใช้หน้ากาก จะช่วยป้องกันพวกเขาจากการติดเชื้อได้
สำหรับ ข้อ 2 สิ่งที่สำคัญที่สุด….คือเขาไม่รู้ว่าเพราะอะไร? ทำไมพวกเขาจึงควรทำตามคำแนะนำเหล่านั้นจึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ดังนี้

ความหมายของการอยู่ในระยะ 2 คือยังไม่มีการระบาดกระจายเป็นวงกว้าง ทั้งยังมีที่มาที่ไปที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยหรือพื้นที่เสี่ยงที่ชัดเจน จากข้อเท็จจริงที่ว่าเชื้อ COVID-19 แพร่กระจายจากการไอจาม ผ่านฝอยละอองเสมหะขนาดเล็ก (droplet transmission) ซึ่งกระจายออกไปได้ไกลประมาณ 1 เมตร และผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อน แล้วนำเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ. (Contact transmission) ลักษณะนี้สามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายของความปนเปื้อนได้ไกลกว่า 1 เมตร
ดังนั้นนัยยะที่ต้องการทำความเข้าใจของ คำว่า “ระยะ 2 “ คือ ….ประชาชนทั่วไป ที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ สามารถใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่ได้จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัย เนื่องจากในระยะ 1 เมตรรอบตัว ไม่น่าจะมีผู้ที่มีเชื้อ CODVID-19 เดินเพ่นพ่านอยู่ (ยกเว้นกรณีเข้าไปในที่แออัด หรือใกล้ชิดผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยที่เหมาะสม) อย่างไรก็ตามพื้นผิวสัมผัสสาธารณะ เป็นที่ที่ไม่สามารถไว้วางใจได้ เพราะ “มือ” ของผู้คน
สามารถนำการปนเปื้อนไปได้ไกล. ดังนั้นการล้างมือ. จึงมีความสำคัญมากในระยะนี้ 🔷🔶

ถ้าพิจารณาการเข้าสู่ระยะ 3 ซึ่งหมายถึง
มีการระบาดในวงกว้าง โดยไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน ในกรณีนี้ ผู้คนในชุมชนนั้นมีโอกาสสูงที่จะมีเชื้อในตัวหรือเกิดความเจ็บป่วย ดังนั้น เมื่อต้องออกจากบ้าน ระยะ 1 เมตร รอบตัวเรา จึงไม่ใช่ระยะปลอดภัยอีกต่อไป. ดังนั้นการใส่หน้ากากอนามัย ร่วมกับการล้างมือ จึงมีความจำเป็น “ในทุกกรณี” ที่จำเป็นต้องเข้าไปใน “ทุก” พื้นที่ของชุมชนที่มีการระบาด ถ้าอยู่ในประเทศ การใส่หน้ากากอนามัยหรือไม่ใส่ อาจไม่เกิดปัญหา. แต่ในบางประเทศ การที่เดินใส่หน้ากากอนามัย ผิดที่ผิดเวลา อาจก่อปัญหาได้ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรม
และการรับรู้ สิ่งที่ประชาชนต้องการคือ ความมั่นใจในข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เพียงหน่วยงานเดียว” พร้อมคำแนะนำในเชิงรูปธรรมว่า หลังจากให้ข้อมูลแล้ว “วันพรุ่งนี้ ฉันต้องทำอะไร อย่างไร และห้ามทำอะไร นอกจาก “กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือ ใส่หน้ากาก”…”ได้ยินท่านนายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ออกมาให้ข่าวเมื่อวานแล้ว 🔷🔶

Cr. น.พ. ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านติดเชื้อ
โรงพยาบาลวิภาวดี
“คำตอบของ โอกาส ในการเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์”
ด่วน ! บริษัทองค์กร ที่ต้องการความช่วยเหลือ เขียน Flow การดูแลพนักงานในองค์กร
หรือ รับ Code ฟรี ปรึกษา teleconsult
ติดต่อ ; TEL: 099 426 9987 คุณตุ้ม 095-540-8787 คุณโซ่
WEBSITE : https://www.doctoratoz.co/
ขอบคุณข้อมูลจาก Doctor A to Z

Sharing is caring!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *