ยางรถยนต์ถือเป็นสินค้าราคาแพงที่เปลี่ยนแต่ละครั้งก็ใช้งบไม่น้อยกว่า 7 พันบาทถึง 3 หมื่นบาท ตามแต่ละรุ่น แต่ละคุณสมบัติของยี่ห้อ และคุณภาพยาง
แนะนำให้อ่านค่าตัวเลข-ตัวอักษรบนแก้มยาง ที่สามารถบอกคุณภาพของยางได้ระดับหนึ่ง 1️⃣2️⃣3️⃣
วิธีดูขนาดของยาง
ยกตัวอย่างเช่น 195/60R15 88H
– 195 คือ หน้ายาง/ความกว้างของยาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
– 60 คือ ซีรีส์ยาง/บอกความสูงของแก้มยางหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (60% ของ 195 มม.) โดยคิดจากตัวเลขชุดแรก ตัวอย่างวิธีคิด ความสูงของแก้มยาง (195*60)/100 = 117 มม.
– R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล ปัจจุบันมีอยู่ 3 แบบ
1. โครงยางแบบธรรมดา (Bias หรือ Conventional tire) คุณสมบัติเบื้องต้น วิ่งนุ่มนวลแต่ไม่ทน
2. โครงยางเรเดียล (Radial tire) คุณสมบัติเบื้องต้น ทนทานที่สุด ทำให้รถประหยัดน้ำมัน แต่ความนุ่มนวลน้อย
3. โครงยางแบบเบลเตดไบแอส (Belted bias tire) คุณสมบัติเบื้องต้น อยู่ระหว่างกลางแบบ ธรรมดาและเรเดียล ที่นุ่มปานกลางและคงทนปานกลาง
– 15 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางยาง ที่ไว้ใส่กับกระทะล้อมีหน่วยเป็นนิ้ว (ภาษาพูดล้อขอบ 14, ขอบ 15 ขอบ 16 ในเก๋ง)
– 88 คือ เลขดัชนีในการรับน้ำหนักของยางต่อเส้น
– H คือ ขีดจำกัดความเร็วสูงสุด
และสุดท้ายที่อยากแนะนำให้อ่านคือวันที่ผลิตยาง โดยตัวเลขคู่หน้าเป็นสัปดาห์ที่ผลิต (หนึ่งปีมี 52 สัปดาห์) และเลขคู่หลังเป็นปี ค.ศ.
ควรตรวจสอบแรงดันยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน ปกติจะมีคำแนะนำแต่ละรุ่นไว้ที่คู่มือการใช้รถและที่เสาประตูหน้า แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปสำหรับรถยนต์ใช้งานส่วนตัว จะอยู่ที่ประมาณ 30-35 PSI และรถสำหรับบรรทุก อยู่ที่ประมาณ 35-45 PSI โดยควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ตรวจสอบดอกยางอย่างสม่ำเสมอหลังการใช้งานไปแล้วเกิน 6 เดือน หรือเกิน 40,000 กิโลเมตร คอยดูให้ดอกยางหนาเกินสะพานยาง (เส้นยางที่พาดขวางในร่องยาง) ถ้าหากดอกยางสึกมากถึงสะพานยาง ให้รีบเปลี่ยนเป็นเส้นใหม่ทันที
❗️❗️❗️หากพบรอบแตก ปริ ที่แก้มยาง ให้รีบทำการเปลี่ยนยางเส้นนั้นทันที โดยต้องตรวจสอบเป็นประจำ ถึงแม้ว่าจะเป็นยางเส้นใหม่ก็ตาม เพราะอาการปริแตกของยาง อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจากการใช้งานหรือจากความผิดพลาดในการผลิต
//ขอบคุณข้อมูลจาก valvoline.co.th/car.kapook.com//