ภายหลังจาก รองโฆษก พปชร. จับมือ”เคลมดิ” ส่งหน้ากากอนามัยถึงมือชาวจอมทอง-ธนบุรี กว่า 8,000 ชิ้นฟรี! ทีมข่าวมีโอกาสได้พูดคุยกับ กิตตินันท์ อนุพันธ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน เคลมดิ ซึ่งได้เริ่มโครงการส่งหน้ากากอนามัยไปแล้วกว่า 8,000 ชิ้น
กิตตินันท์ ระบุว่า ส่วนตัวไม่ได้สนใจว่าเรื่องที่ทำจะเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ แต่เนื่องจากรู้จักกับ น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เป็นการส่วนตัวจากการเรียนหลักสูตรผู้บริหาร ประกอบกับ น.ส.ทิพานัน มีโครงการที่จะสรรหาหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนในพื้นที่จึงมีโอกาสได้คุยกัน ซึ่งทีมงานของเธอ สร้างรายได้จากการเป็นพนักงานของ “เคลมดิ” ทำให้มีโอกาสได้พูดคุยกัน สำหรับ “เคลมดิ” มีพนักงานที่เป็นพาร์ทเนอร์ในการบริการต่าง ๆ โดยเป็นพนักงานที่มีทักษะสูง(High-Skill) ตั้งแต่เรียกเคลมประกันขณะรถชน โดยให้ค่าจ้างพนักงานขับรถเป็นส่วนต่างที่เก็บจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการในแอปพลิเคชัน
ซึ่งเดิมหน้ากากอนามัย น.ส.ทิพานัน ในโครงการของ สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนกว่า 8,000 ชิ้น จะถูกจัดส่งทางไปรษณีย์แต่เนื่องจากจำนวนและปริมาณที่มีค่าใช้จ่ายในการส่งที่ค่อนข้างสูง ทำให้ “เคลมดิ” หนึ่งในบริการที่ บริษัท เอนนี่แวร์ ทู โก จำกัด ดูแลเจ้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการส่งหน้ากากอนามัย ซึ่งไม่คิดค่าบริการ
ประกอบกับ ก้อง-พณชิต กิตติปัญญางาม นายกสมาคม Thailand Tech Startup Association มีโครงการกับ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) และหน่วยงานอื่น ๆ ในการระดมสมองจากสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีมาหาวิธีรองรับการระบาดในรายะที่ 3 ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งก็คาดการณ์กันว่าหากเกิดประกาศการระบาดระยะที่ 3 แล้ว ประชาชนจะตื่นตระหนดและแห่กันไปที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษาโรค จนทำให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและต้องมาโรงพยาบบาลเป็นประจำเกิดความลำบากในการมาโรงพยาบาล ดังนั้นทาง เคลมดิ จึงมีการประกาศรับสมัครพนักงานขับรถของตนเองมาเป็นอาสาในการรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ด้วยการรับ-ส่ง เวชภัณฑ์ เช่น ยา , หน้ากากอนามัย , เจลล้างมือ ให้กับคนไข้ที่มีโรคประจำตัวไม่ต้องมาโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ซึ่งปัจจุบันการระบาดยังไม่ได้เข้าสู้ระยะที่ 3 ดังนั้นจึงไม่มีการร้องขอจากโรงพยาบาล ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นขั้นตอนของการเตรียมความพร้อม แต่ก็เริ่มมีการพูดคุยจากจังหวัดสงขลาเข้ามาบ้างแล้ว
ซึ่งสำหรับหน่วยงานใดที่ต้องการความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องก็สามารถร้องขอไปได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก เป็ดไทยสู้ภัย ซึ่งมีหลากหลายอย่างที่จะช่วยเหลือกันยามวิกฤติ เช่น งานติดตาม , งานส่งของ , งานให้คำปรึกษาจากแพทย์ออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งโครงการที่ให้คำปรึกษาจากแพทย์ก็มีการให้ประชาชนเข้าไปกรอกข้อมูลต่าง ๆ และประมวลผลออกมาเป็นคะแนน ถ้ามีคะแนนสูง แพทย์จากสตาร์ทอัพที่รับปรึกษาทางการแพทย์ออนไลน์ก็จะเข้าไปพูดคุยและตรวจสอบอาการเบื้องต้น
ขอขอบคุณที่มา businesstoday