96008797_2765602663671240_9127550337228472320_n

มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรได้บ้าง?

Sharing is caring!

⚡️ การดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าว่ามีกี่แอมป์ ⚡️ บิลค่าไฟฟ้า จะมีช่องหนึ่งที่เขียนว่า “รหัสเครื่องวัด” เพื่อนำรหัสนี้ไปหามิเตอร์ของบ้าน หลังจากนั้นเมื่อเจอมิเตอร์แล้ว ให้สังเกตตัวเลขในในช่องบนมิเตอร์ เช่น 5(15) A หมายความว่า เป็นมิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ สามารถใช้ไฟได้มากถึง 15 แอมป์ ซึ่งก็จะตรงกับมาตรการค่าไฟฟ้าฟรีสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์นั่นเอง

แต่ความจริงแล้วมิเตอร์มีหลายขนาด และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะกับบ้านและการใช้งาน

โดย ขนาดมิเตอร์ที่เล็กที่สุด ที่เมื่อเวลาไปขอใช้บริการไฟฟ้ากับผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง(กปน.) นั้น มักจะได้ขนาด 5(15) มาเบื้องต้น แต่หากคำนวณถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคต ก็สามารถติดต่อขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ แต่จะต้องเสียค่าเงินประกันและค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงจะต้องยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นจะแปรผันไปตามขนาดปริมาณไฟฟ้าที่ขอใช้เช่นกันทั้งนี้หากเลือกมิเตอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เครื่องไฟฟ้าไม่สามารถทำงานได้ แต่หากเลือกขนาดใหญ่เกินความเหมาะสม ก็จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

💡 แล้วมิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ จะสามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรได้บ้าง?

เราสามารถคำนวณเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อคำนวณกระแสไฟฟ้า โดยนำกำลังไฟฟ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ซึ่งสามารถดูได้จากฉลากบนเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วยความต่างศักย์ (โวลต์) และคูณด้วยจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนั้น และนำกระไฟฟ้าทั้งหมดมาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 เพื่อเผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคตด้วย

ยกตัวอย่างเช่น
🔸พัดลมตั้งพื้น 75 วัตต์ จำนวน 2 ตัว คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 75/220×2 เท่ากับ 0.68 แอมป์
🔸หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ จำนวน 6 หลอด คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 36/220×6 เท่ากับ 0.98 แอมป์
🔸แอร์ 1,000 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 1,000/220 เท่ากับ 4.54 แอมป์
🔸หม้อหุงข้าว 500 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 500/220 เท่ากับ 2.27 แอมป์
🔸เตารีด 430 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 430/220 เท่ากับ 1.95 แอมป์
🔸โทรทัศน์ 43 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 43/220 เท่ากับราว 0.2 แอมป์
🔸ตู้เย็น 70 วัตต์ คิดเป็นกระแสไฟฟ้า 70/220 เท่ากับ 0.32

หากนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกันจะได้เท่ากับ 10.94 แอมป์ แล้วนำมาคูณด้วย 1.25 เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต จะได้ประมาณ 13.68 แอมป์ (ทั้งนี้เป็นการคำนวณเบื้องต้นอย่างคร่าวๆ อาจมีการการเปลี่ยนแปลงตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า) แน่นอนว่ายังไม่เกิน 15 แอมป์ แต่หากในอนาคตมีการเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มเข้ามา อาจต้องเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพื่อความปลอดภัย

//ขอบคุณข้อมูลจาก bangkokbiznews.com//

Sharing is caring!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *