ขับรถชนคน จะเกิดอะไรขึ้น ⁉️⁉️
🚗🚕🚙 ยามเมื่อมีอุบัติเหตุและมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ไม่ได้หมายความว่าผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นจะเป็นคู่กรณีของผู้ขับขี่เท่านั้น แต่ตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่อยู่ในรถก็สามารถเป็นผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งในรถยนต์ทุกคันจะมี พ.ร.บ. ที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชย/ค่าสินไหม สำหรับผู้ประสบเหตุจากทางรถยนต์อยู่แล้ว แต่หากเป็นอุบัติเหตุใหญ่ที่มีผู้บาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต และค่าใช้จ่ายนั้นจะสูงเกินกว่าวงเงินที่ พ.ร.บ. ครอบคลุม ประกันรถยนต์ก็จะเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติมในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยต่างๆ รวมไปถึงการประกันตัวผู้ขับขี่ด้วย และที่สำคัญยังช่วยคุ้มครองค่าซ่อมรถยนต์ หรือหากรถพังยับทั้งคัน ประกันรถยนต์ก็จะชดเชยเงินก้อนตามทุนประกันที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่คุณ
🔵 ในส่วนนี้จะแยกย่อยออกมาได้ 2 ประเภท ก็คือ ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. และความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ภาคสมัครใจที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถยนต์ได้ทำเอาไว้ โดยความคุ้มครองนี้จะครอบคลุมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณีที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. อย่างไรบ้าง ⁉️⁉️
โดยปกติหากเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้น จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ในทันทีตามจำนวนความคุ้มครองเบื้องต้น โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์
แต่ พ.ร.บ. นั้นจะไม่ให้ความคุ้มครองกับตัวรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุ
✅ ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่จะได้จาก พ.ร.บ. ในเบื้องต้น
🔵 จะได้รับค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่ากับค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
🔵 หากในที่เกิดเหตุผู้บาดเจ็บสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 35,000 บาท
🔵 กรณีเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ จะได้ค่าปลงศพ 35,000 บาท
หากได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา 65,000 บาท
✅ ความคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่จะได้จาก พ.ร.บ. หากพิสูจน์ทราบในภายหลังว่าเป็นฝ่ายถูก
🔺 ชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 80,000 บาท
🔺 ชดเชยกรณีผู้บาดเจ็บสูญเสียอวัยวะ แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตแบบปกติได้ เช่น เสียนิ้วไป 1 นิ้ว จะได้รับความคุ้มครองเป็นจำนวนสูงสุด 300,000 บาทต่อคน
🔺 ชดเชยกรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร เช่น สูญเสียขาทั้งสองข้าง
จะได้รับความคุ้มครองเป็นจำนวน 300,000 บาท
🔺 หากเป็นผู้ป่วยใน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อเนื่อง ไม่สามารถไปทำงานได้ จะได้รับเงินชดเชยรายได้รายวันเป็นจำนวน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 4,000 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)
🔺 ชดเชยกรณีเสียชีวิต เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท
🔶 ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองจากประกันรถยนต์อย่างไรบ้าง ⁉️⁉️
ความคุ้มครองในประกันรถยนต์นั้น โดยมากจะให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อค่าความเสียหายต่างๆ มีจำนวนมากเกินกว่าความคุ้มครองที่ พ.ร.บ. มีให้เบื่องต้น และประกันรถยนต์นั้นยังช่วยคุ้มครอง
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ด้วย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญในเรื่องการเงินของผู้ประสบเหตุ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ในภายหลัง
🔷 ผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถยนต์ 🔷
จะเรียกโดยรวมว่าความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล มีรายละเอียดดังนี้
ประกันรถยนต์จะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกินมากจาก พ.ร.บ. จำนวนสูงสุดจะมากเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเพดานวงเงินคุ้มครองและจำนวนบุคคลผู้โดยสารที่กำหนดว่าจะได้รับความคุ้มครอง
ที่ระบุในกรมธรรม์ ตัวอย่างเช่น ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
สำหรับผู้ขับขี่ 1 คน วงเงิน 200,000 บาท สำหรับผู้โดยสาร 6 คน วงเงินคนละ 200,000 บาท เป็นต้น เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร จะได้รับเงินตามที่ระบุในความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล เช่น ความคุ้มครองอบุัติเหตุส่วนบุคคล ผู้ขับขี่ 1 คน ผู้โดยสาร 6 คน คนละ 200,000 บาท
🔶 คู่กรณีหรือบุคคลภายนอก 🔶
จะเรียกโดยรวมว่าความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก มีรายละเอียด ดังนี้
หากคุ่กรณีได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ประกันรถยนต์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินจากความคุ้มครองสูงสุดใน พ.ร.บ. โดยเพดานวงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อคนและต่อครั้ง จะถูกระบุเอาไว้ในกรมธรรม์
เช่น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ. 1,000,000 บาทต่อคน แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาทต่อครั้ง
นอกจากจะได้รับความคุ้มครองต่อร่างกายแล้ว หากอุบัติเหตุนี้สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน ของคู่กรณีหรือบุคคลภายนอกด้วย ก็จะมีวงเงินชดเชยให้ด้วยตามจำนวณที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ตัวอย่างเช่น ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 5,000,000 บาทต่อครั้ง
🔺 การยื่นเรื่องร้องขอรับค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.🔺
การยื่นเรื่องขอรับค่าเสียหายนั้น จำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อมด้วย โดยคุณสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ญาติหรือโรงพยาบาลดำเนินการให้ก็ได้เช่นกัน
🔴 เอกสารที่ต้องเตรียม กรณีบาดเจ็บ
🔶 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
🔶 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
🔴 เอกสารที่ต้องเตรียมกรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
🔶 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
🔶 ใบรับรองแพทย์ระบุการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร
🔶 บันทึกประจำวันของตำรวจหรือหนังสือรับรองการเกิดเหตุจากรถ
🔴 กรณีเสียชีวิต
🔶 ใบมรณะบัตรของผู้เสียชีวิต
🔶 สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต
🔶 สำเนาบัตรประชาชนของทายาท
🔶 บันทึกประจำวันจากตำรวจ
🔴 กรณีเงินชดเชยรายวัน (ยกเว้นผู้ขอยื่นเรื่องเป็นฝ่ายผิด)
🔶 สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบภัย
🔶 ใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยใน หรือสำเนาใบแจ้งหนี้จากโรงพยาบาล
🔶 หนังสือมอบอำนาจ
หากมอบอำนาจให้ญาติหรือบุคคลอื่นดำเนินการแทนจะนอกจากเอกสารที่ระบุเอาไว้ด้านบนแล้ว จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบำนาจดำเนินการแทนด้วย
หากมอบหมายให้โรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการ จะต้องใช้แบบคำร้องรับค่าเสียหายเบื้องต้น (บด.4) พร้อมหนังสือมอบอำนาจ ที่โรงพยาบาลจัดให้
จะเห็นได้ว่าการมีรถยนต์ นอกจาก พ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมายแล้ว เราขอแนะนำให้คุณมีประกันรถยนต์เพิ่มขึ้นอีก 1 สิ่งด้วย เพราะมันเป็นสิ่งการันตีให้กับคุณได้ว่า ภายหลังจากอุบัติเหตุ คุณจะไม่เกิดวิกฤติทางการเงิน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายมากมายที่เกิดขึ้น
ตามมาหลังจากอุบัติเหตุนั่นเอง 🔶🔶🔶
//ขอบคุณข้อมูลจาก moneyguru.co.th//