💭💭💭 ลิเทียมที่ใช้ผลิตแบตเตอรีรถไฟฟ้ามาจากไหน? การสกัดลิเทียมส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง? รถยนต์ไฟฟ้า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” อย่างที่คุณคิดจริงหรือ ?
🚘🚖 เพื่อสกัดเอา ลิเทียม คาร์บอเนต มาผลิตแบตเตอรีที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ลิเทียมถูกสกัดจากน้ำเค็มที่อยู่ใต้ทะเลเกลือในอาร์เจนตินากำลังกลายเป็นเหมือง กระบวนการนี้ต้องใช้น้ำจืดด้วย ชาวพื้นเมืองบางชุมชนคัดค้านการทำเหมืองประเภทนี้ นักอนุรักษ์คิดว่า ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งเช่นนี้ ทรัพยากรน้ำจืดถูกใช้มากเกินไป ปิอา เมร์เชยานี นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า น้ำในทะเลเกลือแถบตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงรุนแรง “โครงการทำเหมืองลิเทียม ต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่”โรงงานซาเลส เด จูจุย ผลิตลิเทียมราว 14,000 ตันในปี 2018 นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าอาจต้องใช้น้ำจืดถึง 420 ล้านลิตร เทียบเท่ากับน้ำในสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิก 168 สระ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency–IEA) ระบุเมื่อปีที่แล้วว่า “ภายในปี 2030 จะมีรถไฟฟ้าทั่วโลกเกือบ 125 ล้านคัน
“เพื่อควบคุมสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบต่อแหล่งน้ำ” นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ลิเทียม ไม่ใช่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องคำนึงถึงเพียงอย่างเดียว วิกตอเรีย เฟล็กเซอร์ ศาสตราจารย์ด้านเคมีไฟฟ้า กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องมองภาพรวม ไม่ใช่แค่รถยนต์และแบตเตอรีเท่านั้นที่เราต้องจับตา แต่เราควรคิดด้วยว่าไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จแบตเตอรีมาจากไหน เป็นไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน หรือมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล”
//ขอบคุณข้อมูลจาก bbc.com //