90142834_2723031594595014_3202812096798523392_o

เช็คอาการเบรครถของคุณ ยังปกติดีไหม?

Sharing is caring!

เช็คอาการเบรครถของคุณ ยังปกติดีไหม❓❓

⭕️⭕️ ระบบเบรกเป็นส่วนสำคัญมากของรถยนต์ เพราะใช้ในการหยุดและชะลอรถขณะเข้าโค้ง ยิ่งต้องเจอกับฝนตกถนนลื่นหรือเหตุการณ์คับขับยิ่งมีความสำคัญมากและเป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถควรใส่ใจในระบบเบรกเพื่อความปลอดภัย ⭕️⭕️

⚠️ 1. เบรกดัง
หากเหยียบเบรกรถแล้วมีเสียงดังอี๊ดๆ แสดงว่าเบรกของคุณมีปัญหาแล้ว ให้ลองสังเกตดูว่า เสียงมันดังมาจากตรงไหน ดังทุกล้อ ดังล้อเดียว ดังคู่หน้า ดังคู่หลัง ถ้าหากพบว่าดังเป็นคู่ คือ ผ้าเบรคหรือจานเบรคหมดครับ อีกกรณีหากดังเป็นจุดๆเดียว นั่นเกิดจากผ้าเบรคที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีเศษหินต่างๆเข้าไปติด แนะนำให้นำรถเข้าตรวจซ่อม และเปลี่ยนใช้ผ้าเบรคที่ได้มาตรฐาน

🔹วิธีแก้ไข เปลี่ยนผ้าเบรค 🔹

⚠️ 2. เบรกสั่น
หากเหยียบเบรกแล้ว รู้สึกว่าแป้นเบรคมีอาการสั่นๆ หรือหนักกว่านั้น คือสั่นไปถึงพวงมาลัย และอาจสั่นไปทางคันเลยก็ได้ ตีความไปได้เลยว่า จานเบรคมีปัญหา โดยอาจเกิดการบิดตัว จากการใช้งานหนักเกินไป เช่นเหยียบเบรกอย่างรุนแรง, จานเบรกมีความร้อนสูง แล้วลุยน้ำทันที เป็นต้น กรณีนี้ขอแนะนำให้นำรถไปตรวจเช็คจานเบรกครับ

🔹วิธีแก้ไข เจียจานเบรกหรือเปลี่ยนจานเบรกใหม่ 🔹

⚠️ 3. เบรกทื่อ
หากเหยียบเบรกแล้ว รู้สึกว่ามันแข็ง ต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ แสดงว่าหม้อลมเบรกในรถของคุณ มีอาการรั่วซึมจากชุดผ้าใบภายในหรือวาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย ทำให้แรงสูญญากาศของหม้อลมน้อย สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล อาจเป็นที่ปั๊มสูญญากาศ
ที่บริเวณตูดไดชาร์จเสียรวมทั้งสายลมรั่ว เป็นต้น อาการนี้ควรรีบแก้ไขโดยด่วน เพราะเป็นที่มาของการเบรกไม่อยู่เลยทีเดียว

🔹 วิธีแก้ไข เบรกทื่อหรือแข็ง ตรวจสอบหม้อลมเบรก 🔹

⚠️ 4. เบรกจม
หากเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่ามันลึกกว่าปกติ หากเหยียบค้างไว้มันจะค่อยๆจมลงๆ ต้องเบรกซ้ำๆถึงจะอยู่ แสดงว่าลูกยางแม่ปั๊มเบรกตัวบนสึกหรอ ทำให้แรงดันเบรกลดลง แต่หากอาการเกิดหลังจากเปลี่ยนคาลิเปอร์ ให้ไล่ลมเบรคอีกครั้งควรรีบตรวจเช็ค เพราะปล่อยไว้นานๆ อาการดังกล่าวจะกลายเป็นเบรกแตกได้

🔹 วิธีแก้ไข ไล่ลมเบรคหรือเปลี่ยนชุดลูกยางแม่ปั้มเบรก 🔹

⚠️ 5. เบรกแตก
หากเหยียบเบรกแล้วไม่เกิดปฏิกริยาใดๆขึ้นเลย แป้นเบรคลงไปติดพื้นอย่างง่ายดาย รถก็ไม่จอด แน่นอนว่า เบรกของคุณแตกซะแล้ว ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เบรกแตกดังต่อไปนี้ การรั่วของน้ำมันเบรก, ท่อทางเดินระบบเบรกแตก, น้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน, ลูกยางแม่ปั๊มเบรกชำรุด, ตัวแม่ปั๊มเบรกเสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด, ชิ้นส่วนของระบบเบรกหลุดหลวม หรือเกิดจากสายอ่อนเบรกแตก กรณีนี้ต้องหาวิธีหยุดรถให้ได้ แนะนำให้ใช้การลดเกียร์ไปเรื่อยๆ รวมไปถึงดึงเบรกมือ (หากเบรกมือเป็นระบบไฟฟ้าห้ามใช้ครับ)

⚠️ 6. เบรกติด
หากยกเท้าออกจากแป้นเบรกแล้ว แต่รู้สึกว่าเบรกยังคงทำงานอยู่ สังเกตดูครับว่า เบรกร้อนมากจนมีกลิ่นไหม้ออกมารึเปล่า ง่ายกว่านั้น จอดรถแล้วใส่เกียร์ว่างดูว่าเข็นแล้วฝืดมั้ย หากมีอาการดังกล่าวมาก็แสดงว่า ลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั๊มเบรกอาจจะฉีกขาด ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรกจนก่อให้เกิดสนิม ลูกสูบเบรกจึงไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้า-ออกได้ อีกกรณีคือ ซีลยางบวมผิดรูป ทำให้ลูกสูบที่คาลิปเปอร์เบรกไม่เลื่อนกลับ ส่งผลให้เบรกติดนั่นเอง

🔹 วิธีแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง โดยการถอดมาขัดสนิมออก แต่หากพบว่ามีสนิมมากจนเกิดตามด ควรเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด 🔹

⚠️ 7. เบรกปัด
หากเหยียบเบรกแล้วรถเกิดเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่ง นั่นอาจเกิดจากคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นของชุดช่วงล่างกระเด็นมาโดนจานเบรก ทำให้ผิวลื่นมัน ความฝืดลดลง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการสึกหรอของชุดคาลิปเปอร์เบรกที่มีแรงกดในแต่ละฝั่งแตกต่างกัน เมื่อความฝืดไม่สมดุลกัน อาการเบรกปัดจึงถามหานั่นเอง เมื่อเกิดอาการเบรกปัก คุณต้องจับพวงมาลัยให้แน่นๆ แล้วรีบตรวจเช็คทันที

🔹 วิธีแก้ไข ให้สังเกตว่าเบรกแล้วปัดทางไหน หากปัดซ้ายต้องซ่อมระบบเบรกด้านขวา หากเบรกแล้วปัดขวาก็ต้องซ่อมซ้าย 🔹

⚠️ 8. เบรกเฟด
หากเหยียบเบรกแล้วมีอาการแป้นเบรคลื่น เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือในเส้นทางขึ้นลงเขา อาจทำให้เราใช้เบรกต่อเนื่องมากเกินไป หรือในช่วงที่ใช้ความเร็วสูงมาก ๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็ปกติ แต่พอแตะเบรกอีกหลายๆครั้ง กลับเกิดอาการลื่น เบรกไม่ตอบสนองซึ่งอันตรายมาก สาเหตุเกิดจากความร้อนของจานเบรกกับผ้าเบรดที่สูงเกินไป มาจากการใช้งานหนักเกินไป หากเคยมีอาการก็ควปรับใช้ผ้าเบรกที่คุณภาพสูงขึ้น และน้ำมันเบรกที่มีค่า DOT สูงขึ้นกว่าเดิมครับ

Sharing is caring!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *