การสัมผัสสารคัดหลั่ง จากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งการไอ จาม น้ำลาย น้ำมูก ซึ่งหากร่างกายสูดดมเอาละอองฝอยหรือไปจับสิ่งของวัตถุที่มีเชื้อ และมาขยี้ที่ดวงตา จะทำให้ผู้นั้นรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ แต่สารคัดหลั่งที่มีเชื้อโควิด ซึ่งอยู่ในร่างกายมีปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งหากคนเรารับมามากก็อาจเป็นการได้รับเชื้อที่มากตามไปด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ งานวิจัยบทความทางการแพทย์ต่างประเทศ รายงานผลการศึกษา พบว่า เชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในสารคัดหลั่งตามอวัยวะร่างกายคนเรามีปริมาณ ดังนี้
ดวงตา มีเชื้ออยู่ประมาณ 1.1% โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำตา และเยื่อบุตา ซึ่งหากถูกไอหรือจามใส่หน้าโดยตรง หรือ เข้าสู่ดวงตา หรือเอามือไปสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อไปขยี้ตาก็อาจติดเชื้อได้
จมูก มีเชื้อโควิด อยู่ถึง 97.9% ซึ่งมากที่สุด โดยหากจามรุนแรงใส่ผู้อยู่ในระยะใกล้ และสัมผัสเสมหะก็ทำให้ติดเชื้อ นอกจากนี้ทางการแพทย์จึงนิยมตรวจหาเชื้อโควิดทางจมูก
ปาก มีเชื้อโควิดสูง 88.6% ทางการแพทย์จึงนิยมตรวจหาเชื้อโควิดทางปากด้วย หากไอรุนแรง และสัมผัส ละอองฝอยเป็นเหตุให้ติดเชื้อสูง
ลำคอ มีเชื้อโควิด 60% ซึ่งอาการเจ็บคอเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด
เลือด มีเชื้อโควิด 12.3% ทำให้ผู้ที่จะบริจาคเลือดต้องถูกคัดกรองเป็นอย่างดี
อุจจาระ มีเชื้อโควิด 70.8% ดังนั้น หากเข้าห้องส้วมสาธารณะ ต้องปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้าง เพื่อลดโอกาสการฟุ้งกระจายของไวรัส ซึ่งถูกขับออกทางอุจจาระได้
สารคัดหลั่งในปัสสาวะ ไม่พบเชื้อโควิด
สารคัดหลั่งในช่องคลอด ไม่พบเชื้อโควิด
สำหรับผู้ป่วยโควิด19 ในช่วงต้น การแพร่เชื้อยังต่ำ แต่ถ้าช่วงที่มีอาการ เช่นมีไข้ ไอ หรือมีอาการหอบ หรือมีอาการไออย่างรุนแรง ช่วงนี้ถือว่ามีศักยภาพในการแพร่เชื้อสูงมาก เพราะว่าไวรัสมีการเพิ่มจำนวนสะสมอยู่ในสารคัดหลั่งทางปาก ทางจมูก ทางน้ำลาย เวลาไอ จะเกิดละอองฝอยขนาดใหญ่ ดังนั้น การใส่หน้ากาก อยู่ห่างกัน 2 เมตร และไม่รวมกลุ่มกันจะถือว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
//ขอบคุณข้อมูลจาก tnnthailand.com//