107667460_2828234047408101_7416283189902984787_n

ว่างงาน ประกันสังคม จ่ายเท่าไร ? ขอรับเงินทดแทน ได้อย่างไร ?

Sharing is caring!

ว่างงาน ประกันสังคม จ่ายเท่าไร ❓
ขอรับเงินทดแทน ได้อย่างไร ❓
🔵 ว่างงาน กรณีเลิกจ้าง
รับเงินทดแทนว่างงาน ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
🔵 ว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา
รับเงินทดแทนว่างงาน ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
🔵 ว่างงาน กรณีเหตุสุดวิสัย
รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ.2563
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ดังนั้น ผู้ประกันตนที่ว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยตามกฎกระทรวงดังกล่าว จะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
2.ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยถึงขนาดที่นายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ไม่ว่านายจ้างจะหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ลูกจ้างดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ แต่ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
⭕️ เงื่อนไขการรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน
1.จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
2.มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
3.ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ empui.doc.go.th ของกรมการจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
4.เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
5.ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
6.ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังนี้
🔹 ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
🔹 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
🔹 ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง
🔹 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
🔹 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
🔹 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
🔹 ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
⭕️ กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย มีเงื่อนไขดังนี้
1.เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และยังไม่สิ้นสภาพการจ้างเท่านั้น ต้องไม่ลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือถูกเลิกจ้าง
2.ผู้ประกันตนต้องไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างระหว่างว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย
3.จ่ายเงินสมทบกรณีว่างงานไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจาก
มีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ (มาตรา 79/1)
⭕️ หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
2.หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09)
กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
3.หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
4.หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
5.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ดังนี้
✅ ธนาคารกรุงไทย
✅ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
✅ ธนาคารกรุงเทพ
✅ ธนาคารไทยพาณิชย์
✅ ธนาคารกสิกรไทย
✅ ธนาคารทหารไทย
✅ ธนาคารธนชาต
✅ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
✅ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
✅ ธนาคารออมสิน
✅ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
⭕️ ขั้นตอนยื่นเรื่องขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงาน
1.ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ empui.doc.go.th ของกรมการจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
2.ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.(ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
อย่างไรก็ตามในกรณีที่ลูกจ้างผู้ประกันตนว่างงาน ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลต่อไปได้อีก 6 เดือน ซึ่งหลังจากนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้เริ่มงานใหม่ ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนสมัครประกันสังคมในมาตรา 39 หรือ มาตรา 40 ก็ได้

Sharing is caring!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *