Braille Block หรือ เบรลล์บล็อค เป็นอักษรเบรลล์ที่ปรากฎบนทางเท้า เพื่อให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ได้ว่าสามารถจะเลือกเดินไปในเส้นทางใดได้สะดวกและรวดเร็ว พื้นกระเบื้องที่ปูบนทางเท้า จะมีบางแผ่นที่พิเศษ มีลวดลายที่แตกต่างกัน และเป็นลวดลายที่นูน อีกทั้งสีที่ต่างกันด้วย ปุ่มสัมผัสพิเศษเมื่อเราย่ำเท้าลงไปนั้น ทำให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ได้ว่า เขาสามารถจะเลือกเดินไปในเส้นทางใดได้สะดวก และรวดเร็ว อีกทั้งจุดไหน คือ จุดที่ต้องหยุด หรือ รอ
เบรลล์บล็อก ถูกคิดค้นโดย Seiichi Meyaki ครูโรงเรียนตาบอดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยมีการนำมาใช้จริง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปีคริสต์ศักราช 1967 หน้าโรงเรียนสอนคนตาบอดในเมืองโอกายาม่า มีหน่วยงานการรถไฟของประเทศญี่ปุ่นให้ความเห็นชอบและสนับสนุนการจัดทำขึ้น โดยจัดให้มีการปูเบรลล์บล็อก ตามสถานีรถไฟในญี่ปุ่น และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งทั่วโลกให้ความสำคัญและนำมาใช้กันทั่วโลกจนถึงปัจจุบันสัญลักษณ์บนทางเท้าของผู้พิการที่น่าสนใจมี 2 แบบ
แบบที่ 1 ลักษณะเป็นปุ่มกลมๆ
ซึ่งมีความหมายว่า ให้หยุด หรือ แจ้งให้ทราบว่าทางข้างหน้า เป็นทางม้าลาย หรือ บันได ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ให้ความใส่ใจต่อผู้พิการทางสายตาเป็นพิเศษยิ่ง โดยแผ่นกระเบื้องบนทางเท้ายังมีเสียงแจ้งเตือนให้ทราบอีกด้วยว่า สัญญาณไฟจราจรขณะนี้เป้นสีเขียว หรือ สีแดง เช่นหากเป็นไฟเขียว สัญญาณเสียง ก็จะส่งเสียงให้ทราบเป็นจังหวะ แต่หากไฟจราจรกำลังจะเปลี่ยนสัญญาณ เสียงสัญญาณก็จะถี่ขึ้น หรือเร็วขึ้น
แบบที่ 2 ลักษณะเป็นเส้นยาวลายตรง
ซึ่งมีความหมายตรงตามสัญลักษณ์ นั่นคือ ให้เดินตรงไปสัญลักษณ์ทั้ง 2 แบบ เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้าอำนวยความสะดวกในการเดิน ก็จะสามารถสัมผัสและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และที่สำคัญนอกจากอักษรเบรลล์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการบอกทิศทางและอำนวยความสะดวกในการเดินแล้ว ยังมีเรื่องของสี ซึ่งนิยมใช้สีเหลือง เพื่อความสว่างและมองเห็นง่าย กรณีนี้อำนวยความสะดวกเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้พิการทางสายตา ที่อาจจะมองเห็นได้บ้าง หรือ ผู้มีปัญหาทางการมองเห็น เพราะไม่ว่าจะกลางวัน หรือ กลางคืน ก็สามารถเห็นได้เช่นกัน
//ขอบคุณข้อมูลจาก bagindesign.com//