ศบค. โพสต์ข้อความ สดุดีทีมแพทย์ไทย นักวิจัย รวมถึง อสม. กว่า 1 ล้านคน นักรบแถวหน้าสู้โควิด-19 มาเป็นเวลา 100 วันเต็ม จนพบอัตราผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่า 1% ❣️ 🔹 เฟซบุ๊กเพจ “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 -ศบค.” โพสต์ข้อความ ขอสดุดีทีมแพทย์ไทย หลังครบ 100 วันแห่งการต่อสู้ โดยระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2563 วันที่มีการรายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เป็นรายแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน และเป็นผู้ป่วยโควิด-19 นอกประเทศจีนเป็นรายแรก นับถึงวันนี้ 22 เมษายน นับเป็นเวลา 100 วันแล้ว ที่ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล นักวิจัย รวมถึง อสม. ทั่วประเทศ กว่า 1 ล้านคน ได้ทำหน้าที่เป็นนักสู้แนวหน้า เสียสละ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ […]
Author: adminclaimdi
เราไม่ทิ้งกันปิดลงทะเบียน “เยียวยา 5 พันบาท” เที่ยงคืนวันนี้!
⏱ เวลา 24.00น. หรือเที่ยงคืน เว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน” จะปิดการรับลงทะเบียน รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เพื่อดำเนินการเปิดรับการขอทบทวนสิทธิ์สำหรับประชาชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรอง ที่เปิดให้ “ยื่นทบทวนสิทธิ์” ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา 💥 โดยเป็นการปิดรับลงทะเบียน รับเงินเยียวยา 5 พันบาท ไม่ใช่เป็นการปิดเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน เพราะยังเปิดให้ผู้ที่ระบบคัดกรองว่าไม่ผ่านเกณฑ์ และไม่เห็นด้วยกับการคัดกรอง ยังสามารถยื่นทบทวนสิทธิ์ได้ต่อเนื่องโดยยังไม่มีกำหนดปิดการยื่นทบทวนสิทธิ์ ➡️ https://www.xn--12cl1ck0bl6hdu9iyb9bp.com/ //ขอบคุณข้อมูลจาก thansettakij.com//
คนไทย 90% แฮปปี้ ได้อยู่ร่วมกับครอบครัวในช่วงโควิด-19
👨👩👧👦 กรมสุขภาพจิตได้ทำการสำรวจความสุขของครอบครัวไทยในช่วงการระบาดโควิด-19 เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนสร้างภูมิคุ้มกันในครอบครัว หรือ “วัคซีนครอบครัว” การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่าง 1,500 คน ประมาณ 2 ใน 3 อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ผลพบว่า ร้อยละ 90 มีความสุขมากถึงมากที่สุดที่ได้อยู่ร่วมกับครอบครัว หนึ่งในสามรู้สึกใกล้ชิดกับครอบครัวมากขึ้น ประมาณครึ่งหนึ่งรู้สึกเป็นห่วงกังวลเมื่อต้องเว้นระยะห่างระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 20 มองว่าครอบครัวมีความเครียดสูงถึงสูงมาก 😤 ผลการสำรวจครั้งนี้สอดคล้องกับผลสำรวจความเข้มแข็งของครอบครัวโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวที่พบว่า มากกว่าร้อยละ 88 ของครอบครัวไทย มีระดับความเข้มแข็งผ่านเกณฑ์ โดยครอบครัวไทยพึ่งพาตัวเองในด้านสุขภาพมากที่สุด (กว่าร้อยละ 98) การสร้าง “วัคซีนครอบครัว” ซึ่งเป็นวัคซีนสังคม ใช้หลักการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว 3 ด้าน ได้แก่ 🙂 “พลังบวก” – ครอบครัวที่มองบวก มองเห็นทางออกในทุกปัญหา แม้ในภาวะวิกฤติ เมื่อเห็นทางออกแล้วครอบครัวต้องอาศัย 😌 “พลังยืดหยุ่น” เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนบทบาท ทำหน้าที่ทดแทนกัน ช่วยกันแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้น และนำไปสู่ 😎 “พลังร่วมมือ” ทำให้ครอบครัวปรองดอง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการฟันผ่าอุปสรรค […]
4 ทุ่ม ห้ามออกนอกบ้าน ออกไปทำงานต้องทำอย่างไร?
⏰ 4 ทุ่ม ห้ามออกนอกบ้าน ออกไปทำงานต้องทำอย่างไร? เนื่องจากรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน เวลา 22.00 – 04.00 น. แต่บางท่านอาจมีความจำเป็นที่ ต้องออกไปนอกบ้าน หรือไปทำงาน 📄 กองปราบได้รวบรวมแบบฟอร์มการขออนุญาตในการออกนอกเคหสถานไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ 🔴 แบบฟอร์มหนังสือรับรองหน่วยงานรัฐ https://bit.ly/2Vq70sV 🔴 แบบฟอร์มหนังสือรับรองเอกชน/ห้างร้าน https://bit.ly/2RsClJZ 🔴 แบบคำขออนุญาตออกนอกเคหสถานของบุคคลทั่วไป (ถ้าจำเป็น) https://bit.ly/34w4Xaw 🔴 แบบคำขออนุญาตออกนอกเคหสถานของบุคคลทั่วไป (ถ้าจำเป็น) ในพื้นที่กรุงเทพฯ https://bit.ly/2V2rRTT 🔴 แบบฟอร์มหนังสืออนุญาต https://bit.ly/2VlF9dd โดยสามารถขออนุญาตได้ที่ ผู้อำนวยการเขต หรือสถานีตำรวจในท้องที่ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีความจำเป็น ไม่ควรออกนอกที่พัก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ //ขอบคุณข้อมูลจาก กองปราบปราม//
“ยางรถยนต์” คือชิ้นส่วนที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ในการขับขี่
“ยางรถยนต์” คือชิ้นส่วนที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ในการขับขี่ เพราะมันคือสิ่งเดียวที่สัมผัสกับพื้นถนนตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนแบบนี้ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการตรวจเช็ก “ดอกยาง” ของรถคุณก่อนออกเดินทาง 🔺 ดอกยางทำหน้าที่อะไร ยางที่ถูกติดตั้งในรถยนต์ที่ใช้งานบนท้องถนนทุกคันจะเป็นยางที่มีดอกทั้งสิ้น แตกต่างกันที่ลวดลายและรูปแบบของยางแต่ละยี่ห้อ โดยดอกยางจะมีบทบาทสำคัญในการขับขี่ทางเปียก หรือในช่วงฝนตก ทำหน้าที่รีดน้ำออกเมื่อหน้ายางสัมผัสกับพื้นถนนที่เปียกและลื่น 🔺 คุณสมบัติทั่วไป โดยเฉลี่ยหากรถวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดอกยางจะช่วยรีดน้ำได้ราว 10-15 ลิตรต่อวินาที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดอกยาง ความลึกของร่องยาง ที่หากยิ่งลึกมากก็จะยิ่งช่วยรีดน้ำได้ดีมากขึ้น 🔺 ดอกยางช่วยในการเบรกอย่างไร นอกจากดอกยางจะช่วยรีดน้ำในทางเปียกแล้ว มันยังช่วยลดระยะเบรกของรถได้อีกด้วย โดยจะมีประสิทธิภาพแปรผันไปตามความลึกของร่องยางเช่นเดียวกัน โดยเว็บไซต์ uniroyal-tyres.com มีการทดสอบการเบรกในทางเปียกจากความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจนถึงรถหยุดนิ่ง ซึ่งผลปรากฎว่า รถที่ใส่ยางที่มีร่องลึก 8 มิลลิเมตร ใช้ระยะเบรกเพียง 42.3 เมตร ส่วนดอกยางร่องลึก 3 มิลลิเมตรใช้ระยะเบรก 51.8 เมตร และรถที่ร่องของดอกยางลึก 1.6 มิลลิเมตร ใช้ระยะเบรกถึง 60.9 เมตรเลยทีเดียว 🔺 […]
ย้ำ!! รพ.เอกชน ห้ามเก็บเงินผู้ป่วย “โควิด-19”
🏥 อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้ ยังมีการร้องเรียนว่า โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือญาติ จึงต้องขอเน้นย้ำว่า โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ต้องรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่เอาค่าใช้จ่ายมาเป็นเงื่อนไข 🚫 ห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยหรือญาติโดยเด็ดขาด และให้จัดเก็บเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย เพื่อนำมาประกอบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในเบื้องต้นแล้ว และจะมีการประกาศใช้ในเร็วๆ นี้ แต่ยกเว้นกรณีผู้ที่มีประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน 😷 หากผู้ป่วยฯ หรือญาติ พบว่าสถานพยาบาลเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรม สบส. หมายเลขโทรศัพท์ 02 193 7057 ตลอดวัน และเวลาราชการ แต่หากอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ เพื่อดำเนินการต่อไป //ขอบคุณข้อมูลจาก thebangkokinsight.com//
ปริมาณของเชื้อโควิด-19 ในสารคัดหลั่งของอวัยวะทั้ง 8
การสัมผัสสารคัดหลั่ง จากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งการไอ จาม น้ำลาย น้ำมูก ซึ่งหากร่างกายสูดดมเอาละอองฝอยหรือไปจับสิ่งของวัตถุที่มีเชื้อ และมาขยี้ที่ดวงตา จะทำให้ผู้นั้นรับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ แต่สารคัดหลั่งที่มีเชื้อโควิด ซึ่งอยู่ในร่างกายมีปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งหากคนเรารับมามากก็อาจเป็นการได้รับเชื้อที่มากตามไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ งานวิจัยบทความทางการแพทย์ต่างประเทศ รายงานผลการศึกษา พบว่า เชื้อโควิด-19 ที่อยู่ในสารคัดหลั่งตามอวัยวะร่างกายคนเรามีปริมาณ ดังนี้ ดวงตา มีเชื้ออยู่ประมาณ 1.1% โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำตา และเยื่อบุตา ซึ่งหากถูกไอหรือจามใส่หน้าโดยตรง หรือ เข้าสู่ดวงตา หรือเอามือไปสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อไปขยี้ตาก็อาจติดเชื้อได้ จมูก มีเชื้อโควิด อยู่ถึง 97.9% ซึ่งมากที่สุด โดยหากจามรุนแรงใส่ผู้อยู่ในระยะใกล้ และสัมผัสเสมหะก็ทำให้ติดเชื้อ นอกจากนี้ทางการแพทย์จึงนิยมตรวจหาเชื้อโควิดทางจมูก ปาก มีเชื้อโควิดสูง 88.6% ทางการแพทย์จึงนิยมตรวจหาเชื้อโควิดทางปากด้วย หากไอรุนแรง และสัมผัส ละอองฝอยเป็นเหตุให้ติดเชื้อสูง ลำคอ มีเชื้อโควิด 60% ซึ่งอาการเจ็บคอเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด เลือด มีเชื้อโควิด 12.3% ทำให้ผู้ที่จะบริจาคเลือดต้องถูกคัดกรองเป็นอย่างดี อุจจาระ มีเชื้อโควิด 70.8% ดังนั้น […]
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา ได้หรือไม่?
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา ได้หรือไม่ ❓❓ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกัน ไวรัสโคโรนาได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ทำเพื่อ วัตถุประสงค์ในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยแนะนำ ให้ฉีดอ้างอิงตามแนวทางการให้วัคซีนของราชวิทยาลัย อายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
สภากาชาดไทย ต้องการพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว พร้อมเปิดลงทะเบียนออนไลน์
❣️ สภากาชาดไทย ต้องการพลาสมาจากผู้ป่วย COVID-19 ที่หายแล้ว พร้อมเปิดลงทะเบียนออนไลน์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ชวนผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 กลับมาเป็นผู้ให้พลาสมาที่มีภูมิต้านทานต่อไวรัส นำไปใช้รักษาโรค และช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบอย่างรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ การรักษาผู้ป่วยยังต้องพึ่งพาการให้ยารักษาตามอาการของผู้ป่วย และการผลิตวัคซีนยังอยู่ในกระบวนการของพัฒนาและวิจัยอย่างเร่งด่วน แต่ยังมีวิธีการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่สามารถทำได้ทันทีอีกวิธีหนึ่ง คือ การนำพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว นำไปใช้รักษาผู้ป่วยอาการรุนแรงได้ ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการรับบริจาคพลาสมา เพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยโรคต่างๆ อยู่แล้ว จึงขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายดีแล้ว เพื่อนำไปช่วยรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ต่อไป โดยผู้ประสงค์จะบริจาคพลาสมา ต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดีไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว จึงจะสามารถมาบริจาคพลาสมาได้ หากมีผู้ที่บริจาคพลาสมาพิเศษนี้จำนวนเพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศได้มีโอกาสการรักษาและรอดชีวิตจากโรค COVID-19 เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย […]
อันตรายจากการใช้เจลแอลกอฮอล์ บ่อยเกินไป
วิธีการที่ทำให้รอดพ้นจากโรคระบาดนี้ได้ หนึ่งในหนทางที่ดีที่สุด คือการล้างมือหรือการใช้แอลกอฮอล์เจล แต่หากต้องทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ อาจมีผลกระทบต่อผิวหนังทำให้ผิวแห้ง เพราะแอลกอฮอล์จะระเหยไปดูดความร้อนบริเวณผิวหนังทำให้รู้สึกเย็น ถ้าใช้บ่อยๆ ผิวหนังจะแห้ง ในบางราย อาจเกิดอาการแพ้เจลแอลกอฮอล์ได้ วิธีทดสอบอาการแพ้ “เจลแอลกอฮอล์” – บางรายที่ผิวค่อนข้างแพ้ง่าย หรือใครที่มีความกังวลว่าผิวจะแพ้หรือไม่ ก่อนใช้เจลแอลกอฮอล์ตามปกติ แนะนำให้ทดสอบด้วยการทาบริเวณผิวหนังใต้ท้องแขนด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงก่อน หากไม่มีอาการผิดปกติ จึงสามารถนำมาใช้ตามปกติทุกวันได้ อาการแพ้ “เจลแอลกอฮอล์” เป็นอย่างไร? อาการแพ้แอลกอฮอล์เจลมักจะเกิดเป็นอาการเฉพาะที่และไม่รุนแรง เช่น ผิวแห้ง แตก มีขุย หรือ มีผื่นแดงคัน โดยอาจจะเกิดจากผลของแอลกอฮอล์โดยตรงหรืออาจจะแพ้ส่วนผสมอื่นๆ เช่น แพ้ส่วนผสมน้ำหอม วิธีดูแลรักษาความสะอาดมือ ช่วงโควิด-19 ระบาด – หากใช้เจลแอลกอฮอล์แล้วมือแห้ง แนะนำให้ใช้โลชั่นหรือครีมบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว – สำหรับคนที่แพ้แอลกอฮอล์เจล แนะนำให้ใช้สบู่ฟอกมือแทน – ล้างมือทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะปลายเล็บ ซอกเล็บ จมูกเล็บ ง่ามนิ้ว หลังมือ โดยฟอกสบู่เป็นเวลา 20 วินาทีก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด […]