การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ประกาศร่วมมือกับ บริษัท ทรูมันนี่ ประเทศไทย เปิดบริการสมัครใช้บัดร Easy Pass รูปแบบใหม่ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet อำนวยความสะดวก และกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษเปลี่ยนมาชำระค่าผ่านทางพิเศษด้วยระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (ETCS) พร้อมเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้รถ จัดส่งอุปกรณ์ถึงบ้าน ลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านฯ พร้อมขยายฐานผู้ใช้งานสมัคร Easy Pass ไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet เป็นประจำกว่า 8.4 ล้านรายต่อปี การทางพิเศษฯ จึงได้ร่วมมือกับ ทรูมันนี่ เพิ่มช่องทางการสมัครใช้บริการบัตร Easy Pass โดยผูกกับ TrueMoney Wallet ทำให้สะดวกในการสมัครและเติมเงินในบัตรมากขึ้นกว่าเดิมที่ผู้ใช้ทางต้องเดินทาง ไปสมัครบัตร Easy Pass ที่ศูนย์ควบคุมทางพิเศษและด่านฯ ต่างๆ บนทางพิเศษ ทำให้เสียเวลาและไม่สะดวก ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้บัตร Easy Pass กว่า 1.79 ล้านบัตร โดยทางพิเศษบูรพาวิถี มีผู้ใช้บัตร Easy Pass […]
Category: News
จอดรถตรงทางโค้ง แล้วโดนชน ใครผิด?
ขับรถไปชนรถที่จอดในทางโค้ง หรือรถที่จอดในที่ห้ามจอด หรือรถที่จอดในที่ไม่สมควรจอด แบบนี้ใครผิด⁉️⁉️ คำตอบก็คือ “รถคันที่ชนเป็นฝ่ายผิด” ครับ แม้ว่ารถคันดังกล่าวจะจอดตรงทางโค้งหรือในที่ห้ามจอดก็ตาม 😅 ถือว่าฝ่ายที่ชนไม่ระมัดระวังในการใช้รถ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เราไม่มีสิทธิ์ไปทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย สำหรับฝ่ายที่ถูกชน อาจมีความผิดหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อคู่กรณี แต่เป็นความผิดตามกฎหมายจราจร หากเป็นการจอดในที่ห้ามจอดโดยมีป้ายจราจรกำกับไว้ชัดเจน อาจจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีป้ายจราจรกำกับไว้ เป็นการจอดที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ฝ่ายที่ถูกชนคงไม่มีความผิดใดๆ ถ้ารถฝ่ายที่ถูกชนเป็นการจอดตรงทางโค้งหรือในจุดที่เสี่ยงต่อการถูกชนจริงๆ แม้ว่าฝ่ายผู้ชนจะรู้สึกไม่เป็นธรรม แต่การที่จะเรียกร้องความถูกต้องคงเป็นการเสียเวลาเปล่าครับ ผู้ขับขี่ควรยอมรับความประมาทของตัวเราเองด้วย แม้จะรู้สึกว่าฝ่ายคู่กรณีเป็นฝ่ายที่ไม่มีวินัยจราจร หรือเป็นความมักง่ายที่จอดรถแล้วสร้างความเดือนร้อนให้คนอื่นก็ตาม 😅😞☹️ //ขอบคุณข้อมูลจาก www.roojai.com//
ชาวต่างชาติฉุน! ไม่มีรถจอดให้ข้ามทางม้าลาย ไม่หยุดรถให้คนข้ามถนนมีโทษอย่างไร?
จากเหตุชาวต่างชาติข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย แล้วโดนรถชน เพราะไม่มีใครจอดให้ข้าม แต่ไม่ได้บาดเจ็บอะไรมาก ชาวต่างชาติโมโหเลยไม่ยอมลุก นั่งขวางโวยวายบอกโทรเรียกตำรวจมานั้น 🚘🚖 สำหรับทางม้าลายในต่างประเทศ เมื่อมีคนเดินลงมาบนทางม้าลาย รถทุกคันต้องหยุดวิ่ง และให้คนเดินข้ามไปก่อน เพราะทั้งคน ทั้งระบบ ทั้งกฎหมายของที่นั่นโทษหนัก จับจริง ปรับจริง เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศยุโรปตะวันตก จากกรณีดังกล่าว สำหรับประเทศไทยหากคุณขับรถชนคนเดินเท้าตรงทางม้าลาย รถผิดเต็มๆ เนื่องจากกฏหมายคุ้มครองคนเดินเท้ามากกว่ารถ ซึ่งถ้าขับรถมาแล้วเห็นว่ามีคนกำลังจะข้ามถนนตรงทางม้าลาย ควรให้คนเดินข้ามถนนก่อนเพราะคนข้ามทางม้าลายมีสิทธิไปก่อนรถ แล้วตามกฎหมายต้องหยุดให้คนข้ามถนนในทางข้ามทางโดย พรบ.จราจรทางบก “ในการใช้ทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใด ของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชราหรือคนพิการที่ กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตน” ดังนั้น ถือว่าเป็นความผิดตามพรบ.จราจรทางบก มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งเรื่องดังกล่าว ต่างประเทศให้ความสำคัญมาก แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้เห็นความสำคัญจึงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบริเวณทางม้าลายบ่อยครั้ง😔😔😔 สำหรับค่าเสียหายประกันชั้น 1 เท่านั้นที่จ่ายชดเชยคู่กรณี และซ่อมรถให้ ส่วนตั้งแต่ชั้น 2+ ลงมา จะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณี […]
ข่าวฟอร์จูนเนอร์ หากชนแล้วหนี มีโทษอย่างไร?
จากกรณี “อดีตนายพล” ขับรถฟอร์จูนเนอร์เบียดมอเตอร์ไซค์ พลเมืองดีนับสิบเร่งขับไล่ตาม หวังกลับมาพูดคุยกับผู้เสียหาย แต่กลับชนซ้ำ แล้วขับหนีต่อ ส่งผลให้รถมอเตอร์ไซค์ของพลเมืองดีเสียหายนั้น ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ได้วางหลักไว้ว่า ผู้ใดขับรถในทางแล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น (หรือเรียกว่า “ผู้ก่ออุบัติเหตุ”) ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัว และแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งอยู่ใกล้เคียงโดยทันที และต้องแจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่และเลขทะเบียนรถแก่ผู้เสียหาย (หรือที่เรียกว่า “ผู้ประสบอุบัติเหตุ”) จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ผู้ก่ออุบัติเหตุ มีหน้าที่ 3 ประการดังต่อไปนี้ 1.หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร 2.แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งอยู่ใกล้เคียงโดยทันที 3.ต้องแจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่และเลขทะเบียนรถแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งถ้าหากผู้ก่ออุบัติเหตุฝ่าฝืนหน้าที่ข้างต้น ย่อมถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ //ขอบคุณข้อมูลจาก news.thaipbs.or.th www.fongdi.com/
จอดรถซื้อของ ไม่ดับเครื่อง รถหาย ประกันไม่จ่าย!
เวลาจอดรถซื้อของข้างทางต้องระวัง ถ้าไม่ดับเครื่องแล้วรถหาย ประกันไม่จ่ายได้ ‼️ ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ เลข 1305/2559 โดยระบุว่า ถ้าลงไปซื้อของโดยดับเครื่องและล็อคประตู ขโมยก็คงจะไม่สามารถขโมยได้ หรือขโมยยากขึ้น ดังนั้น การไม่ดับเครื่อง ถือเป็นความประมาทอย่างร้ายแรงของเจ้าของรถเอง ประกันไม่ต้องจ่ายก็ได้ครับ ‼️‼️ //ขอบคุณข้อมูลจาก ทนายรัชพล ศิริสาคร//
คันหน้าแกล้งเบรกให้เราชนท้าย แล้วเราผิดไหม?
จากข่าวปาเจโร่หัวร้อน โมโหถูกตัดหน้า ขับตามมาปาดหน้ารถซีวิคให้ชนท้ายหลายครั้ง คนขับรถกระบะผู้เห็นเหตุการณ์ได้ถ่ายคลิปไว้ และพยายามขับขวางดักปาเจโร่ไว้เพื่อไม่ให้หนี แต่ซีวิคที่ขับตามมาเบรกไม่ทัน เลยชนท้ายปาเจโร่ สุดท้ายจบกันที่สถานีตำรวจ ซึ่งปาเจโร่สีดำคันนี้เคยก่อเหตุแบบเดียวกันบนทางด่วนเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ในกรณีดังกล่าว ถ้าขับรถไปชนท้ายรถคนอื่นจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม อาจจะเป็นเพราะรถคันหน้าเบรกกระทันหันจนเราซึ่งเป็นคันตามเบรกไม่ทันจนต้องชนในที่สุด ก็ถือว่าคันของเราเป็นฝ่ายผิด ด้วยเหตุผลที่ว่าในการขับรถควรมีระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่เหมาะสม ดังนั้นหากมีการชนท้ายเกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะถือว่าคันที่ชนท้าย ซึ่งขับตามหลังมาไม่มีความระมัดระวังเท่าที่ควรจึงทำให้เกิดเหตุ เข้าข่ายเป็นฝ่ายผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 40 แต่ถ้าในกรณี “คันหน้าแกล้งเบรกให้เราชนท้าย” ขับมาปาดหน้าแทรกเข้าเลนแล้วแกล้งเบรกเพื่อให้คู่กรณีเสียจังหวะ ซึ่งอาจนำไปสู่การชนท้าย ถ้าไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันเลย ไม่มีทั้งภาพถ่าย วิดีโอ และภาพจากกล้องหน้ารถ กล้องวงจรปิดรอบๆ บริเวณนั้น ตามหลักการแล้วคงต้องประเมินว่าคันที่ชนท้ายเป็นฝ่ายผิด แต่ถ้ามีหลักฐานยืนยันได้ว่าการที่เกิดเหตุชนท้ายขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร มาจากการที่คู่กรณีขับรถโดยประมาท คันที่ชนท้ายก็ถือว่าเป็นฝ่ายถูก และต้องได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ รวมถึงการชดใช้จากคู่กรณีด้วย และยังเข้าข่ายเป็นฝ่ายผิด ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 420 มีหลักว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย ให้คนอื่นเสียหาย ต้องใช้ค่าเสียหาย ดังนั้น ใครฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเข้าข่ายเป็นฝ่ายผิด เพราะการฝ่าฝืนกฎหมายครับ //ขอบคุณข้อมูลจาก thairath / khaosod […]
วัตถุปริศนา ยิงถูกกระจกรถยนต์แตกละเอียด ประกันฯ คุ้มครองไหม?
วัตถุปริศนา ยิงถูกกระจกรถยนต์แตกละเอียด ประกันฯ คุ้มครองไหม? วันที่ 8 พ.ย. ร.ต.อ.ณัฐพงษ์ กลิ่นชะนะ ร้อยเวร สภ.เมืองราชบุรี รับแจ้งว่า มีวัตถุปริศนาตกใส่รถเก๋งของเจ้าหน้าที่ อบจ.ราชบุรี ได้รับความเสียหาย ขอให้ช่วยมาตรวจสอบ ที่เกิดเหตุบริเวณด้านข้างตึกที่ทำการขององค์การบริหารส่วน จ.ราชบุรี ตั้งอยู่ถนนอำเภอเมืองราชบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี พบรถเก๋ง โตโยต้า ยาริส สีบรอนด์เงิน ทะเบียน กน 2436 ราชบุรี ที่กระจกหลังคนขับด้านซ้ายมีรอยวัตถุอย่างแข็งขนาดเล็กเจาะเป็นรูกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร กระจกแตกร้าวได้รับความเสียหายทั้งบาน โดยมี น.ส.จินตนา อัศวประสิทธิ์กุล อายุ 28 ปี เจ้าของรถยืนรอให้การแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ จากการตรวจสอบบริเวณใกล้เคียง เป็นโรงจอดรถของ อบจ.ห่างออกไปจากรถคันเกิดเหตุก็เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดราชบุรี ส่วนวิถีของวัตถุปริศนานั้น คาดว่ามาจากที่สูงใกล้เคียง เบื้องต้นได้ลงบันทึกประจำวันเอาไว้ และได้ไปขอดูกล้องวงจรปิดบริเวณโดยรอบก่อน หากทราบว่าวัตถุปริศนาตกมาจากที่ใดและฝีมือใครก็จะทำการเจรจาเพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้วจบเรื่อง แต่ถ้าหาตัวคนทำไม่ได้จริงๆ ตนเองก็จะแจ้งความต่อไป จากกรณีดังกล่าว ประกันช่วยอะไรได้บ้าง? หากทำประกันชั้น 1 คุ้มครองแน่นอน […]
เจตนาขวาง ‘รถพยาบาล’ ผู้ป่วยถึงชีวิต มีโทษหนัก!
จากกรณีเฟซบุ๊ก “Wichai Chaichana” ได้โพสต์คลิปเหตุการณ์ขณะที่กำลังขับรถพยาบาลไปส่งผู้ป่วย แต่กลับเจอรถกระบะขับแช่ขวาขวางทางเป็นกิโลเมตร ไม่ยอมหลีกทางให้ ขนาดบีบแตรก็ยังไม่สน โดยระบุข้อความว่า “ถ้าคนป่วยบนรถเป็นญาติเขา.. เขาจะหลบให้ทางรถพยาบาลไหม?” 🚑🚑🚑 หลายต่อหลายครั้งบนท้องถนน มักเกิดเหตุขับรถขวางรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินซึ่งเพจ @กองปราบปราม เคยโพสต์ข้อความให้ความรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีในลักษณะดังกล่าวว่า เจตนาไม่หลบรถพยาบาลขณะขับรถส่งผู้ป่วย ระวังเจอข้อหาฆ่าผู้อื่น!! การขับรถกีดขวางเส้นทางรถพยาบาลนั้น เข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 76 ระบุว่า เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนี้ ผู้ที่ขับรถกีดขวางรถพยาบาลก็อาจจะถูกตั้งข้อหาหนักตามมาอีกด้วย ถ้าหากการกระทำนั้นเป็น “เหตุโดยตรง” ที่ทำให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต อาจเข้าข่ายกระทำความผิดโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย หรือกระทำโดยเจตนา เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของผู้ขับรถครับ👍🚑 //ขอบคุณข้อมูลจาก www.dailynews.co.th, www.khaosod.co.th//
ตากข้าวบนทางหลวงชนบทผิดกฎหมาย
จากกรณีที่มีนักเรียนชายชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ขี่รถจักรยานยนต์ไปเฉี่ยวชนกองข้าวเปลือก ที่ตากไว้บนถนนทางหลวงหมายเลข3047 สายบ้านหนองม่วงน้อย – หนองไทร ต.ทะเมนชัย เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย ขณะนี้ผู้บาดเจ็บยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์นั้น การตากข้าวบนทางหลวงชนบท ถือว่าเป็นการกองหรือวางสิ่งของกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ สำหรับการวางสิ่งกีดขวางบนนถนน มีบทลงโทษทางกฎหมาย เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง 👨🏼✈️ การตากข้าวเปลือกเพื่อระบายความชื้น นับเป็นภาพที่เราเห็นกันจนชินตา หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า การตากข้าวเปลือกดังกล่าว หรือแม้แต่การวางการกองสิ่งของบนถนนนั้นเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะสิ่งของเหล่านั้นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ ❌ ล่าสุดทางด้านแขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์ ได้โพสต์ประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลอีกครั้งเกี่ยวกับ ข้อกฎหมาย พรบ.ทางหลวง เรื่องการวางกองสิ่งของบนทางหลวง เนื้อหามีดังนี้ ❌ มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้ใดติดตั้ง แขวน วางหรือกองสิ่งใดในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ หรือในลักษณะที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงหรือความไม่สะดวกแก่งานทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง ในการอนุญาตผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวงจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีความจำเป็นแก่งานทางหรือเมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับอนุญาตได้กระทำการผิดเงื่อนไขที่กำหนดในการอนุญาต […]
ทำลายเครื่องล็อคล้อเสี่ยงจำคุก!
กรณีที่ทำผิดกฎจราจรแล้วถูกล็อคล้อ บางคนไปตัดลูกกุญแจออกเอง เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมาย อาจถูกจำคุกได้นะครับ 😰😰😰 ตาม พรบ.จราจรทางบก 2522 มาตรา 159 ผู้ขับขี่ผู้ใดทำลายเครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้าย หรือเคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานได้ใช้เครื่องมือบังคับมิให้เคลื่อนย้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ‼️ หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้น ยังเข้าข่ายเป็นความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท ‼️ หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย ❌❌❌